จากกรณี พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายการศึกษา และแนวทางการศึกษาโดยเป็นการการขับเคลื่อนนโยบาย "เรียนดี มีความสุข" ซึ่งในนโยบายดังกล่าว มีโครงการ 1 ครู 1 แท็บเล็ต และ 1 นักเรียน 1 แท็บเล็ต จนทำให้กลายเป็นประเด็นที่สังคมกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
พร้อมกันนั้นยังถูกมองว่าเป็นนโยบายที่ใกล้เคียงกับโครงการ “1 คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตต่อ 1 นักเรียน (One Tablet PC per Child)” ในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรหรือไม่
นโยบายแจก "แท็บเล็ต" กลับมาอีกครั้ง กระทรวงศึกษาฯเตรียมแจก ครู-นร.
กูเกิลเผยสเปก Pixel Tablet-สมาร์ทโฟน 2 รุ่น วางจำหน่าย มิ.ย.นี้
สหประชาชาติหนุน ห้ามใช้สมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตในห้องเรียน
โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2554 โดยมีนโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก ข้อ 1.15 “จัดหาเครื่องแท็บเล็ตพีซี(Tablet PC) ให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกา 2555 ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสม ตามหลักสูตรบรรจุลงในแท็บเล็ตพีซี รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร่สายตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย”
จุดเริ่มต้นโครงการ
ในวันที่ 7 มิถุนายน 2555 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นประธานในพิธีเปิดงานโครงการ “One Tablet PC Per Child” โดยได้มีการจัดซื้อแท็บเล็ตให้แก่นักเรียน และครูผู้สอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และคอมพิวเตอร์สำรองให้แก่โรงเรียน รวมจำนวน 1 ล้านเครื่อง โดยแท็บเล็ตดังกล่าว มีการจัดซื้อจากบริษัทแห่งหนึ่งในประเทศจีน ในราคาเครื่องละ 82 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2,674 บาท รวมค่าขนส่ง เพื่อแจกให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนทุกสังกัดจำนวน 856,886 เครื่อง วงเงินเกือบ 2,000 ล้านบาท
โดยแบ่งเป็นโรงเรียนสังกัด สพฐ. จำนวน 564,723 เครื่อง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จำนวน 183,360 เครื่อง โรงเรียนสาธิตในกำกับมหาวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จำนวน 3,845 เครื่อง โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 46,575 เครื่อง โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 1,881 เครื่อง เมืองพัทยา 1,557 เครื่อง และโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 54,945 เครื่องคำพูดจาก สล็อตทรูวอเลท
ปัญหาของโครงการ
แต่หลังจากนั้น เกิดปัญหาการบริหารจัดการโครงการแท็บเล็ตมีปัญหาตั้งแต่ปีแรก เช่น การจัดส่งไปยังโรงเรียนล่าช้ากว่ากำหนด แท็บเล็ตมีปัญหาพังหรือเสีย โรงเรียนที่ได้รับแจกแท็บเล็ตในพื้นที่ห่างไกลยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ตลอดจนศูนย์ซ่อมก็มีไม่ครอบคลุมทุกจังหวัด และยังมีปัญหาเนื้อหาที่บรรจุลงในแท็บเล็ตยังไม่สามารถตอบโจทย์ของทุกโรงเรียนที่เด็กมีศักยภาพแตกต่างกันได้ ตลอดจนความไม่พร้อมของครู จนทำให้เกิดปัญหาว่าเด็กนำแท็บเล็ตไปใช้เพื่อการเล่นเกมมากกว่าการเรียน การสอน
จากนั้นในปี 2556 ซึ่งมีการดำเนินโครงการ “1 คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตต่อ 1 นักเรียน (One Tablet PC per Child)” เป็นปีที่ 2 ซึ่งมีการประกวดราคาจัดซื้อแท็บเล็ต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วงเงินจำนวน 4,611 ล้านบาท เมื่อรวมกับงบประมาณปีแรกเท่ากับใช้งบประมาณไปมากกว่า 6,000 ล้านบาท โดยกำหนดราคากลางที่ 82 ดอลลาร์สหรัฐต่อเครื่อง หรือประมาณ 2,770 บาทเท่ากับปีแรก ซึ่งการจัดซื้อจัดจ้างผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-ออคชั่น ที่แบ่งออกเป็น 4 โซน
โซนที่ 1 เป็นการจัดซื้อแท็บเล็ตสำหรับนักเรียนชั้น ป.1 (ภาคกลางและภาคใต้) จำนวน 431,105 เครื่อง
โซนที่ 2 นักเรียนชั้น ป.1 (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จำนวน 373,637 เครื่อง
โซนที่ 3 นักเรียนชั้น ม.1 (ภาคกลางและภาคใต้) จำนวน 426,683 เครื่อง
โซนที่ 4 นักเรียนชั้น ม.1 (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จำนวน 402,889 เครื่อง
ผลการอี-ออคชั่น ปรากฏว่า บริษัทแห่งหนึ่งในประเทศจีน ชนะการประกวดราคาในโซนที่ 1 และ 2 ส่วนโซน 3 บริษัทแห่งหนึ่งในประเทศไทย ชนะการประกวดราคา ส่วนโซน 4 บริษัทแห่งหนึ่งในประเทศไทย ชนะการประกวดราคา
แต่หลังจากนั้นเกิดปัญหาการบริหารจัดการที่ล่าช้าข้ามปี บริษัทที่ชนะการประมูลไม่สามารถจัดส่งเครื่องได้ตามสัญญา จนสพฐ.ต้องยกเลิกสัญญาจัดซื้อจัดจ้างในโซนที่ 1 ส่วนโซนที่ 3 มีปัญหาส่อฮั้วประมูลจนต้องมีการยื่นอุทธรณ์ร้องทุกข์และตรวจสอบกระบวนการ จัดซื้อจัดจ้างย้อนหลังนานหลายเดือนจนทำให้กระบวนการต่างๆ หยุดชะงัก กว่าจะทยอยส่งเครื่องให้นักเรียนก็ล่าช้าไปหลายเดือน เช่นเดียวกับโซนที่ 4 ต้องยกเลิกสัญญาเช่นเดียวกัน เพราะบริษัทที่ชนะการประมูลไม่สามารถจัดส่งแท็บเล็ตได้ตามเวลาที่กำหนด
จุดสิ้นสุดโครงการ
สุดท้ายเมื่อเกิดการรัฐประหาร ในปี 2557 พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ในฐานะรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กำกับดูแลฝ่ายสังคมจิตวิทยา ประชุมพิจารณาโครงการแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา (OTPC) และมีมติให้ยกเลิกการจัดซื้อแท็บเล็ตตามปีงบประมาณ 2556 ที่เหลืออยู่ และปีงบประมาณ 2557 ทั้งหมด โดยมีเหตุผลของการยกเลิกคือ
1.นักเรียนทุกคนไม่จำเป็นที่ต้องได้รับแจกแท็บเล็ตเป็นของตัวเอง เพราะใช้แท็บเล็ตเรียน 1-2 ชั่วโมงต่อวัน เท่านั้น ซึ่งอาจใช้งานหมุนเวียนกับนักเรียนทุกๆ คน-ทุกๆ ชั้นในโรงเรียน จึงไม่คุ้มค่าไม่เหมาะสมที่จัดซื้อให้แก่นักเรียนทุกคน
2.แท็บเล็ต ไม่เหมาะ-ไม่ควรที่นำมาสอนตลอดเวลา ควรใช้เป็นเครื่องในการเรียนบางชั่วโมง และเด็กๆควรเรียนรู้จากครูผู้สอน
3.แท็บเล็ต มีขนาดหน้าจอเล็กทำให้นักเรียน มีปัญหาด้านสายตา ราคาเครื่องแท็บเล็ตถูก-ต่ำ อายุใช้งานสั้น แค่ 3 ปี การซ่อมบำรุงไม่คุ้มค่าเมื่อต้องซ่อมแซม
4.แท็บเล็ต เป็นครุภัณฑ์ของโรเรียน ไม่เหมาะสมที่ไปมอบให้นักเรียนเป็นของส่วนตัวได้ และคณะกรรมการว่าด้วยพัสดุ กรมบัญชีกลาง แจ้งว่ามอบให้เด็กนักเรียนไม่ได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : ข้อมูลประกอบรายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐายแห่งรัฐ ห้องสมุดรัฐสภา, เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ
ย้อนดู “เงินเดือนข้าราชการ” หลัง ครม.สั่งการแบ่งจ่าย 2 รอบ/เดือน
รพ.จุฬาเปิดจุดฉีดวัคซีน HPV เดือน ก.ย.ฟรี! ย้ำรีบลงทะเบียนก่อนหมดเขต!
ไขรหัส!“ทิชชู 1 บาท” เช็ดหน้าได้ไหม? วิธีเลือกให้ปลอดภัยจากสารฟอกขาว