จากกรณีที่ผลการสอบ PISA ประจำปี 2022 ซึ่งวัดระดับทักษะด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ของเด็กอายุ 15 ปีทั่วโลก ออกมาว่า ผลคะแนนเฉลี่ยทั่วโลกลดลง โดยเฉพาะไทยที่คะแนนต่ำสุดในรอบ 20 ปีนั้น

รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการศึกษาแห่งชาติและอดีตประธานอนุกรรมการจัดทำแผนการศึกษาชาติฯ เปิดเผยว่า ผลประเมิน PISA ที่ลดลงทั่วโลกเป็นผลจากการล็อกดาวน์โรงเรียนและสถาบันการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโควิดในช่วงปี พ.ศ. 2563-2564

การสอบ "PISA" คืออะไร? ประเมินอะไร ทำไมถึงสำคัญ?

ผลสอบ PISA คะแนนร่วงเกือบทั้งโลก ไทยหนัก คะแนนต่ำสุดในรอบ 20 ปี

รศ.ดร.อนุสรณ์บอกว่า ที่ทักษะด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ของเด็กไทย ร่วงต่ำสุดในรอบ 20 ปี เพราะเด็ก ๆ เกือบทั้งหมดเรียนหนังสืออยู่ที่บ้านเนื่องจากมีการล็อกดาวน์ยาวนานมีโรงเรียนและครอบครัวจำนวนมากไม่มีความพร้อมในการจัดการศึกษาทางออนไลน์ การศึกษาทางไกล

เขาเสริมว่า รัฐบาลในช่วงดังกล่าวมีหน้าที่แก้ไขปัญหาและรัฐบาลต้องจัดการให้พลเมืองทุกคนให้รับการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานเด็กประถมจำนวนมากในหลายประเทศรวมทั้งไทยกลับไปอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ทักษะทางคณิตศาสตร์ ทักษะทางด้านสังคมอ่อนแอลงเพราะหยุดเรียนในชั้นเรียนไปนานจากปัญหาการแพร่ระบาดโควิด ซึ่งจะนำสู่ปัญหาการศึกษาอีกมากที่จะตามมา

นอกจากนี้ ความรู้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ สุขอนามัยศึกษา สังคมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ สำหรับทุกระดับในการศึกษาขั้นพื้นฐานอ่อนแอลงหมด ซึ่งโรงเรียนของรัฐและเอกชนต้องใช้เวลาเสริมสร้างทักษะชดเชยที่ขาดไป เด็กนักเรียนจะมีปัญหาทางการศึกษาในการเรียนรู้ขั้นสูงต่อไปในระดับอุดมศึกษา เด็กเหล่านี้จะมีความ “อ่อนแอ” ในวิชาพื้นฐานต่าง ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเรียนต่อในขั้นสูงได้เลย

รศ.ดร.อนุสรณ์มองว่าทางกระทรวงศึกษาธิการน่าจะต้องจัดตารางการเรียนการสอนใหม่เพื่อให้เด็กสามารถตามบทเรียนที่ขาดพร่องไปจากการเรียนออนไลน์เป็นเวลานานในวิชาที่ต้องใช้ “ทักษะ” เหล่านี้ในภาคปฏิบัติในชั้นเรียน โดยจำเป็นต้องเพิ่มชั่วโมงเรียนภาษาและคณิตศาสตร์ และตัดชั่วโมงเรียนของวิชาที่จำเป็นน้อยหรือสามารถเรียนรู้ในภายหลังได้ออกไปก่อน

รศ.ดร.อนุสรณ์เสริมว่าจากประเมินในเบื้องต้นเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ในระยะ 6 ปีแรกของแผนการศึกษาแห่งชาตินั้น ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย แผนการดำเนินการล้วนสะดุดมาอย่างต่อเนื่องทั้งจากความไม่ชัดเจนของนโยบายการศึกษาของรัฐมนตรีแต่ละท่านที่มีการปรับเปลี่ยนบ่อยครั้ง ผู้ที่ดำรงตำแหน่งในการกำกับดูแลนโยบายระบบการศึกษาพื้นฐานไม่ได้เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าว

คุณภาพการศึกษาไทยสะดุดลงอย่างหนักสุดจากวิกฤตการณ์โควิด ตัวชี้วัดต่างๆที่อยู่ในแผนระยะ 5 ปีแรก (พ.ศ. 2560-2565) ย่างเข้าสู่แผนระยะ 5 ปีระยะที่สอง ของแผนการศึกษาชาติ (พ.ศ. 2560-2569) จึงบรรลุตามเป้าหมายไม่ถึง 40% ไม่ว่าจะเป็นมิติการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ (Access) มิติความเท่าเทียมทางการศึกษา (Equity) มิติคุณภาพการศึกษา (Quality) มิติประสิทธิภาพ (Efficiency) มิติการตอบโจทย์บริบทที่เปลี่ยนแปลง (Relevancy)

ในส่วนการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ 10 ข้อ (หากพิจารณาจากแผนเดิม 15 ปี) และ ยุทธศาสตร์ 6 ข้อ (ตามแผนที่มีแก้ไขเพิ่มเติมเป็น 20 ปี) นั้นพบว่า มีเพียงยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย มีแผนการดำเนินการที่มีความคืบหน้าระดับหนึ่ง ส่วนยุทธศาสตร์อื่น ๆ มีความคืบหน้าเล็กน้อย เช่น ยุทธศาสตร์การสร้างโอกาสความเสมอภาคทางการศึกษา มีความก้าวหน้าบ้างจากบทบาทของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาที่มีการทำงานเชิงรุก ยุทธศาสตร์การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษาไม่มีผลสำเร็จอะไรชัดเจนนัก ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการเพิ่มเนื้อหาในหลักสูตร ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลงคนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศยังไม่มีความคืบหน้าและจะทำให้ “เศรษฐกิจไทย” ประสบปัญหาความถดถอยของส่วนแบ่งตลาดของสินค้าไทยในตลาดโลกในระยะต่อไป

อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการศึกษา ยังกล่าวอีกว่า นอกจากปัญหาวิกฤติคุณภาพการศึกษาแล้ว สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากขณะนี้ คือ การปิดตัวลงของสถานศึกษาเอกชนขนาดเล็กและขนาดกลางจากปัญหาสภาพคล่องจำนวนมาก ปัญหาประชากรเด็กลดลงอย่างมาก เกิดการเลิกจ้างบุคลากรการศึกษาในโรงเรียนระดับปฐมวัย ประถมและมัธยมในสถานศึกษาเอกชน สถานศึกษาเอกชนที่ยังประคับประคองตัวเองไปได้ก็ใช้วิธีลดเงินเดือนบุคลากรลงมาก ทำให้ครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานประสบปัญหาทางการเงินและมีหนี้ส่วนบุคคลจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ จึงทำให้มีบุคลากรทางการศึกษาจำนวนไม่น้อยขาดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ เมื่อโรงเรียนและบุคลากรทางการศึกษาอ่อนแอลงอย่างมาก ประเทศย่อมอ่อนแอลงและผลกระทบจะยาวนานกว่า วิกฤติเศรษฐกิจหรือวิกฤติการเมืองใด ๆ

รศ.ดร.อนุสรณ์กล่าวว่า เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติทางการศึกษาดังกล่าว จึงมีข้อเสนอดังต่อไปนี้

ข้อเสนอที่หนึ่ง แนวโน้มนักเรียนและนักศึกษาออกจากระบบการศึกษายังคงเพิ่มขึ้นอยู่แม้นเศรษฐกิจจะทยอยฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจโควิดแล้วก็ตาม เสนอใช้โอกาสนี้เปลี่ยนวิธีการจัดการงบประมาณระบบการศึกษาโดยเฉพาะงบประมาณกระทรวงศึกษาธิการ จาก Supply-side Financing เป็น Demand-side Financing ด้วยการจัดสรรเงินทุนโดยตรงไปยังครอบครัวรายได้น้อยหรือครอบครัวยากจนเพื่อให้นักเรียนและนักศึกษาได้มีเงินทุนในการศึกษาต่อไปได้ (Demand-side Financing) จากการที่ครอบครัวได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโควิด โดยลดการจัดสรรโดยตรงไปที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยให้น้อยลง (Supply-side Financing) จึงไม่จำเป็นต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในเบื้องแรก หากจำเป็นต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหาการตกออกจากระบบการศึกษาจากปัญหาทางเศรษฐกิจให้จัดสรรผ่านกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาหรือจัดสรรผ่านกลไกอื่นๆที่ไม่ใช่หน่วยราชการแบบเดิมที่ไม่มีประสิทธิภาพและยังมีความไม่โปร่งใสในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ

ข้อเสนอที่สอง ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและสิทธิประโยชน์ในการลงทุนเพื่อให้มีการควบรวมสถานศึกษาให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อสามารถบริหารทรัพยากรทางการศึกษาและการเงินได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และ ทำให้การศึกษามีคุณภาพมากขึ้น

ข้อเสนอที่สาม ควรให้ สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของรัฐสามารถเรียกเก็บค่าเล่าเรียนเพิ่มเติม ค่าธรรมเนียมการศึกษาเพิ่มเติม ค่าบริการหรือค่าอำนวยสะดวกเพิ่มเติมได้จากผู้เรียนในกรณีที่สามารถจัดบริการทางการศึกษาด้วยคุณภาพที่สูงกว่ามาตรฐานขั้นต่ำที่รัฐกำหนด เพื่อให้ผู้เรียนและผู้ปกครองที่มีฐานะทางเศรษฐกิจได้มีส่วนร่วมระดมทุน เพื่อการศึกษา ตามหลักประโยชย์ที่ได้รับ (Benefit Principle) และทำให้ รัฐ สามารถนำเงินเหลือไปอุดหนุนการศึกษาภาคบังคับ การศึกษาระดับมัธยมและหลักสูตรอาชีวศึกษาและวิชาชีพเพิ่มขึ้น

ข้อเสนอที่สี่ มีความจำเป็นต้องทบทวนแผนการศึกษาชาติใหม่ โดยนำเอายุทธศาสตร์จากแผนการศึกษาชาติฉบับ 15 ปีที่ถูกตัดทิ้งไปให้นำกลับมาพิจารณาใหม่ ไม่ว่า จะเป็น ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการศึกษา ยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจไปสู่สถานศึกษา ในยุทธศาสตร์มีการเสนอแผนดำเนินการให้ โรงเรียนของรัฐ มีสภาพเป็น “นิติบุคคล” ได้ ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม ยุทธศาสตร์การปรับระบบและกลไกในการบริหารงานบุคคล มีเสนอให้มี ระบบครูสัญญาจ้าง ที่สามารถจ่ายค่าตอบแทนสูงเพื่อดึงดูดบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานมากขึ้น

ข้อเสนอที่ห้า ใช้งบประมาณที่มีอยู่ในกระทรวงศึกษาธิการ ใน การจัดการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อชดเชยการปิดโรงเรียนหรือการเรียนออนไลน์อย่างไม่มีคุณภาพ หลังจากการแพร่ระบาดโควิดมีทิศทางดีขึ้นอย่างชัดเจน ทางกระทรวงศึกษาธิการน่าจะต้องจัดตารางการเรียนการสอนใหม่เพื่อให้เด็กสามารถตามบทเรียนที่พร่องไปจากการเรียนออนไลน์เป็นเวลานานในวิชาที่ต้องใช้ “ทักษะ” และการปฏิบัติจริงในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียน โดยจำเป็นต้องเพิ่มชั่วโมงเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ ภาษา คณิตศาสตร์ และการทักษะทางด้านอาชีพ รวมทั้ง วิชาหน้าที่พลเมืองและสังคมศาสตร์

ข้อเสนอที่หก จัดสรรเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ (ดอกเบี้ยไม่ควรเกิน 1%) สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีปัญหาสภาพคล่องและเตรียมปิดกิจการให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ และ ต้องมีการเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวให้นักเรียนเอกชน

ข้อเสนอที่เจ็ดจัดตั้งกองทุนขนาด 2,000 ล้านบาทใหม่หรือใช้กลไกกองทุนทางการศึกษาที่มีอยู่แล้วเพื่อช่วยเหลือบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้ชะลอการเลิกจ้าง หรือกรณีถูกเลิกจ้างให้มีเงินทุนในการประกอบอาชีพอย่างอื่นหากไม่ประสงค์ทำงานในระบบการศึกษาอีกต่อไป และ ให้ใช้ประโยชน์จากกองทุนนี้ในการให้ “ทุนการศึกษา” ให้กับบรรดาครูอาจารย์ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในการศึกษาในขั้นสูงขึ้น

ข้อเสนอที่แปด รัฐควรจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อนำไปใช้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาและอุปกรณ์การศึกษาออนไลน์สำหรับนักเรียนและโรงเรียนต่างๆให้เพียงพอ ทั่วถึงและมีคุณภาพ Education Technology เหล่านี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาทักษะกำลังคนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลและในช่วงการแพร่ระบาดของโควิดซึ่งอาจจะดำรงอยู่อีก 1-2 ปี การเข้าถึงเทคโนโลยีทางการศึกษาพร้อมกับเนื้อหาสาระที่เสริมสร้างภูมิปัญญาและความรู้จะนำมาสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอันเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมไทยดีขึ้น และ โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาที่รัฐจัดให้นั้น รัฐต้องประกันให้ได้มาตรฐานขั้นต่ำ และ เป็น ความเสมอภาคในแนวนอน (Horizontal Equity) สำหรับพลเมืองทุกคน

รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวอีกว่า การศึกษาเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญปัจจัยหนึ่งที่ช่วยผลักดันเศรษฐกิจให้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน การพัฒนาการศึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 มิติใหญ่ๆ ได้แก่

1.มิติด้านปริมาณ ซึ่งหมายรวมถึง การพัฒนาความสามารถในการเข้าถึงการศึกษา (Mankiw, Romer and Weil, 1992) และการเพิ่มจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยให้กับนักเรียน/นักศึกษา เพื่อที่จะได้รับความรู้ที่มากเพียงพอในการสนับสนุนการทำงานในอนาคต (Barro and Lee, 1993)

2คำพูดจาก สล็อตวอเลท. มิติด้านคุณภาพ ซึ่งหมายถึง คุณภาพการเรียน การสอน ที่ทำให้เด็กมีทักษะที่เข้มข้น และสอดคล้องกับการที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ในอนาคต (Hanushek and WoBmann, 2007)

3. มิติด้านความเหลื่อมล้ำ ซึ่งหมายถึง ความแตกต่าง ในผลลัพธ์ของการศึกษา ซึ่งเป็นผลเกี่ยวเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆที่มากกว่าแค่คุณภาพของการเรียนการสอน แต่ครอบคลุมไปถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่ปัจจัยเฉพาะของนักเรียนแต่ละคน ปัจจัยทางด้านครอบครัว ไปจนถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา

แนวทางการแก้ไขปัญหาการศึกษาที่ดี ควรที่จะต้องมีการพัฒนาในทั้ง 3 มิติไปพร้อม ๆ กัน เนื่องจากการแก้ไขปัญหาในมิติเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียว โดยไม่เน้นคุณภาพอาจจะได้แรงงานที่จบมาแล้วมีทักษะที่ไม่สอดคล้องกับตลาดแรงงาน การทุ่มทรัพยากรเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านความเหลื่อมล้ำเพียงอย่างเดียว อาจจะเป็นการตัดโอกาสในการพัฒนากลุ่มเด็กที่มีศักยภาพที่สูง เช่นเดียวกัน การพัฒนาในมิติเชิงคุณภาพโดยไม่ได้พิจารณาในมิติความเหลื่อมล้ำ เช่น การพัฒนาคุณภาพของแต่ละโรงเรียนอย่างเป็นเอกเทศ อาจจะทำให้เกิดความแตกต่างของผลการเรียนของแต่ละโรงเรียน ซึ่งทำให้คุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษามีความแตกต่าง กันมาก และนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมในที่สุด

เมื่อย้อนกลับมาดูสถิติและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของไทย จะพบว่า ประเทศไทยยังคงมีปัญหาทั้ง 3 มิติ โดยข้อมูลสถิติจากธนาคารโลก บ่งชี้ถึงช่องว่างในการเข้าถึงการศึกษาในระดับชั้นปฐมศึกษา โดยมีเพียงร้อยละ 93 ของ เด็กในวัยเรียนที่เข้าถึงการศึกษาในระดับชั้นดังกล่าว งานวิจัยของ Prasartpornsirichoke and Takahashi (2013) บ่งชี้ถึงความสำคัญของการขยายการเข้าถึงการศึกษาให้ครอบคลุม ถึงระดับชั้นมัธยม ข้อมูล

จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรของประเทศจากฐานข้อมูลของ Barro and Lee (2013) พบว่าประชากรวัยทำงานของไทยมีจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยอยู่ที่ 7.3 ปี ซึ่งยังอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (ซึ่งมีจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยอยู่ที่ 11.05 ปี) ถึง 3.75 ปี

ป.ป.ช. แจงยิบ ยืนยัน“ครูชัยยศ” ถูกปลดเพราะมีมูลความผิดอย่างร้ายแรง

ยูเนสโกประกาศแล้ว! "สงกรานต์" เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

คกก.ซอฟต์พาวเวอร์ เคาะงบฯ 5,164 ล้าน ดัน 11 ด้านซอฟต์พาวเวอร์ไทย

"อนุสรณ์ ธรรมใจ" เสนอ 8 ทางออกวิกฤติการศึกษา หลังผลสอบ PISA ร่วงดิ่ง

admin