ทีมข่าวพีพีทีวี พยายามตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลจากในพื้นที่ ก็พบว่า "จ่าฟาโร" นั้นมีตัวตนจริง และเป็นตำรวจอยู่ที่ สภ.มูโนะ มือเก็บ "ส่วยมูโนะ" ส่งนาย คนที่ถูกพูดถึงคือ "จ่าฟาโร" ซึ่งเพจ Golok Spotlight ที่ออกมาแฉก่อนหน้านี้ โพสต์ความคืบหน้าล่าสุดว่า "จ่าฟาโร" ปิดเฟซบุ๊กหนีไปแล้ว และก็มีข้อสงสัยว่าตกลง "จ่าฟาโร" เป็นใครเป็นตำรวจจริงหรือไม่

แฉ “ส่วยมูโนะ” ต้นเหตุโกดังพลุระเบิด จ่าย 3-5 หมื่น แลกซุกพลุในพื้นที่

ผบช.ภ.9 สั่งสอบ “ส่วยมูโนะ” จ่ายครึ่งแสนต่อเดือน แลกตั้งโกดังพลุกลางชุมชน

ทีมข่าวพีพีทีวี สอบถามไปยังตำรวจที่ทำงานใน สภ.มูโนะ ก็ยอมรับว่าตำรวจยศจ่า ที่มีชื่อ ฟ. ใน สภ.มูโนะ มีคนเดียวชื่อจ่ามาหาหมัดฟาโร มีตำแหน่งเป็นตำรวจจราจร

เมื่อถามว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียกรับส่วยผิดกฎหมายในพื้นที่หรือไม่ตำรวจที่ สภ.บอกว่าไม่รู้เรื่องนี้

ทีมข่าวจึงสอบถามไปยัง 1 ใน 4 เสือสภ.มูโนะที่ถูกสั่งย้าย ว่าใน สภ.มีตำรวจชื่อ "จ่าฟาโร" หรือไม่ ก็ยอมรับว่ามีจริง แต่ไม่รู้เรื่องการเรียกรับส่วยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

สอดคล้องกับข้อมูลของนายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม ออกมาแฉเพิ่ม อ้างว่า “จ่าฟาโร” มือเก็บส่วนในพื้นที่มูโนะ มีชื่อเต็ม ๆ คือ จ.ส.ต.มาหาหมัดฟาโร ตันยีนายู ตำรวจจราจร สภ.มูโนะ

เขายังอ้างถึงข้อมูลที่ได้มาว่า “จ่าฟาโร” คนนี้ จะทำหน้าที่ตะเวนเก็บส่วยกลุ่มธุรกิจสีเทาในพื้นที่ ทั้งน้ำมันเถื่อน ของหนีภาษี ยาเสพติด และของผิดกฎหมาย

สำหรับพื้นที่นราธิวาส ถือเป็นพื้นที่ความมั่นคง สินค้าประเภทพลุ ดอกไม้ไฟถือเป็นสินค้าควบคุมที่ต้องขออนุญาตนำเข้า เคลื่อนย้ายหรือจัดเก็บ โดยขั้นตอนแรกต้องผ่านการขออนุญาตจาก 5 หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล คือกระทรวงกลาโหม, กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงแรงงานและกระทรวงอุตสาหกรรม ก่อนจะมาถึงการดูแลของตำรวจในพื้นที่ เป็นขั้นตอนสุดท้าย

นายอัจฉริยะ อ้างว่าถึงขั้นตอนนี้ “จ่าฟาโร” จะทำหน้าที่เก็บส่วยเป็นค่าดูแล แล้วส่งต่อให้ผู้บังคับบัญชา โดยมีการเรียกรับเป็นรายเดือน ซึ่งจากข้อมูลที่ได้มาโกดังที่เกิดเหตุต้องจ่ายส่วยให้ตำรวจ เดือนละ 50,000 บาท

นายอัจฉริยะ ยังแฉอีกว่า การเก็บส่วยไม่ได้มีแต่ส่วนของตำรวจท้องที่เท่านั้น ยังต้องจ่ายส่วยในส่วนของตำรวจตระเวนชายแดนด้วย เพราะผู้ประกอบการจะต้องนำเข้าพลุมาจากเมืองจีน และขนย้ายส่งไปขายยังประเทศมาเลเซีย ปีละ 2 ครั้ง คือช่วงวันชาติมาเลเซีย และวันฮารีรายอเพื่อเป็นค่าดูแลหรือค่าผ่านทางซึ่งจะลักลอบขนส่งผ่านทางเรือ

นายอัจฉริยะบอกว่า พื้นที่ของ สภ.มูโนะไม่ใช่พื้นที่ขนาดใหญ่ แต่ถือเป็นพื้นที่ชั้นดีที่มีการเรียกรับผลประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจผิดกฎหมายจำนวนมาก โดยในวันพรุ่งนี้ตัวเองจะเดินทางไปยื่นเรื่องกับผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน และมอบหมายให้พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร.ทำหน้าที่ตรวจสอบ 5 หน่วยงานที่ควบคุมกำกับดูแลเรื่องพลุ รวมถึงสอบจ่าฟาโรและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดด้วย

อย่างที่เราได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้ การที่จะนำเข้า จัดเก็บ หรือ จำหน่ายสินค้าประเภทพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ นั้นไม่ง่าย เพราะถือเป็นสินค้าอันตรายเพราะฉะนั้นจะต้องขออนุญาตจากหลายหน่วยงาน คือ อำเภอ อบต.หรือเทศบาล อุตสหกรรมจังหวัด และฝ่ายความมั่นคง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า

ซึ่งก็ไปสอดคล้องกับข้อมูลของรอง ผบ.ตร พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาลระบุว่าหากไล่เรียงตามลำดับขั้นตอนแล้วก็พบว่ามีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนั้นเมื่อเกิดเหตุแล้วทุกหน่วยงานจะต้องมีส่วนรับผิดชอบ และจะต้องถูกดำเนินคดีในความผิดเรื่องละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

จากกข้อมูลของชาวบ้านในพื้นที่ ที่แฉว่าคนเก็บส่วยไม่ได้มีแค่ตำรวจ แต่มีทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและทหาร ร่วมด้วย

เมื่อดูจากข้อเท็จจริง ด่านแรกที่ผู้ประกอบการจะนำเข้าพลุมาในประเทศได้นั้นจะต้องนำเข้าผ่านทางชายแดนซึ่งชายแดนนราธิวาส มีทั้ง ตชด.และ กองทัพภาคที่4 ดูแล จากนั้นมาถึงจุดพักสินค้า ก็จะเป็นหน้าที่ของฝ่ายปกครองที่มีอำนาจดูแลตรวจสอบส่วนตำรวจท้องที่จะเป็นหน่วยงานสุดท้ายที่เกี่ยวข้อง คำถามก็คือเป็นไปได้หรือไม่ที่การเก็บส่วยโกดังพลุ หรือ สิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะมีการจ่ายให้หน่วยงานของตำรวจเพียงหน่วยงานเดียว

"อัจฉริยะ" แฉ! เส้นทาง "ส่วยมูโนะ"

admin