นับเป็นเป็นอีกหนึ่งโครงการที่บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด หรือ เอสซีจี เดินหน้าดำเนินการ และผลักดันเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมตามแนวทาง ESG 4 Plus สำหรับโครงการ “พลังชุมชน” หลักสูตร Mini MBA สำหรับชุมชน ที่สอนหลักการตลาดให้รู้จักลูกค้า แปรรูปผลิตภัณฑ์ให้โดนใจผู้บริโภค สร้างแบรนด์สินค้า และขยายช่องทางจำหน่ายให้หลากหลายอย่างออนไลน์ ทั้งยังเปิดเวที “พลังชุมชน คนบันดาลใจ” ชู 4 ชุมชนต้นแบบ ส่งต่อแนวคิดและแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ ปรับใช้ต่อไป

โดยโครงการ “พลังชุมชน” หลักสูตร Mini MBA สำหรับชุมชน สนับสนุนโดยเอสซีจี เป็นหลักสูตรอบรมวิสาหกิจชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพให้ชุมชน ด้วยการให้ความรู้ คู่คุณธรรม นำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิธิคิด ให้พึ่งพาตนเอง โดยใช้หลักการตลาด เช่น แปรรูปผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นให้มีมูลค่าเพิ่มและตรงใจผู้บริโภค มีเอกลักษณ์โดดเด่น สร้างแบรนด์สินค้าให้จดจำได้ หาวิธีการจำหน่ายสินค้าที่หลากหลาย เช่น ขายออนไลน์ รวมถึงรู้จักวางแผนชีวิตเพื่อสร้างความยั่งยืนให้ตัวเองและคนรอบข้าง

ปัจจุบันมีผู้ที่สามารถสร้างอาชีพได้แล้วกว่า 450 คน 850 ผลิตภัณฑ์ ส่งต่อการจ้างงานได้กว่า 1,800 คน และส่งต่อความรู้มากกว่า 10,200 คน เกิดเป็นเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง

ล่าสุด เอสซีจีได้จัดงาน “พลังชุมชน คนบันดาลใจ” โดยเชิญ 4 ชุมชนต้นแบบจากโครงการพลังชุมชนมาร่วมเสวนาเพื่อแรงบันดาลใจให้ชุมชนอื่น ๆ นำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต ได้แก่ คุณเกศรินทร์ กลิ่นฟุ้ง จ.ลำปาง คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว ที่แปรรูปขนมคุกกี้ไส้สับปะรดให้เป็นรูปไก่ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดลำปาง

จุดเริ่มต้นของคุณเกศรินทร์ เกิดจากความตั้งใจของแม่ที่อยากจะทำขนมให้ลูกชายกิน จึงศึกษาเรียนรู้วิธีการทำขนมที่ลูกชอบ เช่น เค้กกล้วยหอม ขนมปังกรอบเป็นต้น จนได้นำองค์ความรู้ที่ได้จากโครงการมาปรับใช้ สร้างอัตลักษณ์ให้ผลิตภัณฑ์มีจุดขายที่แตกต่าง ซึ่งสร้างอัตลักษณ์สินค้า “คุกกี้รังไหมไส้สับปะรด” ให้กลายเป็น “กุ๊กไก่ไส้สับปะรด” โดยแปรรูปขนมคุกกี้ไส้สับปะรดให้เป็นรูปไก่ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดลำปางพร้อมยกระดับสินค้าด้วยการปรับมาตรฐานสินค้าให้ได้อย.

นอกจากนี้ยังมีการปรับโรงเรือนตามมาตรฐานอย. ทำให้สามารถผลิตสินค้าได้หลากหลายและมีคุณภาพ พร้อมรับการผลิต OEM จนสุดท้าย “กุ๊กไก่ไส้สับปะรด” กลายเป็นขนมของฝากอัตลักษณ์ของจังหวัดลำปาง ได้การรับเลือกเป็นเมนูให้ผู้นำในเวทีประชุม APEC Thailand

ด้านคุณยศวัจน์ ผาติพนมรัตน์ จ.อุดรธานี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนวังธรรม ผลิตและแปรรูปปลาครบวงจร จ.อุดรธานี แม้จะตกงาน มีหนี้หลักล้าน แต่ก็ไม่ท้อ นำปลามาแปรรูปเป็นปลาส้ม จำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์

จุดเริ่มต้นของคุณยศวัจน์ ก็คือหลังออกจากงานราชการ ได้เดินทางคืนถิ่นกลับมาสร้างอาชีพที่บ้านเกิด ตอนแรกเริ่มจากสองสามีภรรยา ประกอบอาชีพเสริมโดยการขาย “ปลาส้ม” แต่ก็ไม่ประสบความเร็จ จนสุดท้ายได้เข้าร่วมกับโครงการพลงชุมชม นำองค์ความรู้ต่างๆ มาปรับใช้ เริ่มจากการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นองค์ความรู้แรก หลังจากนั้นได้เชื่อมโยงความสัมพันธ์ต่างๆ ตั้งแต่ ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ ค่อยๆ สร้างเครื่อข่ายขึ้นมาเรื่อยๆ

โดยเริ่มต้นจากการทำแบบครบวงจร เชื่อมต่อ ต้นน้ำ-เลี้ยงปลา กลางน้ำ-แปรรูป ปลายน้ำ-ขายตลาดออนไลน์ ออฟไลน์ เลี้ยงปลาต้นน้ำ โดยใช้นวัตกรรม ไบโอฟลอค รวบรวมเชื่อมโยงกลุ่มวิสาหกิจ สร้างโมเดล และเชื่อมต่อทำงานกับหน่วยงานภาครัฐ ประมงจังหวัด ศูนย์วิจัยประมงน้ำจืด ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยี AIC ธกส. เกษตรอำเภอ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นต้น เพื่อสร้างระบบ สร้างคน และสร้างงาน

ซึ่งผลสำเร็จของโมเดลนี้ทำให้คุณยศวัจน์ สามารถสร้างบ้านภายใน 4 เดือน สร้างโรงเรือนแปรรูปภายใน 2 ปีเกษตรกรพึ่งตนได้ สู่การแบ่งปัน พร้อมทังรวบรวมเชื่อมโยงกลุ่มวิสาหกิจ สร้างโมเดล อำเภอน้ำโสม อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี ใน 7 ตำบล และเขียนหลักสูตรและกิจกรรมวิถีพอเพียง ขยายผลต่อในโรงเรียนอีกด้วย

ส่วนคุณมัจฉา สุดเต้ (เจ๊แต๋น) ก๋วยเตี๋ยวสูตรมาดามโซ่ จ.อุบลราชธานี เดิมที่คุณมัจฉาขายกล้วยทอดเป็นอาชีพหลัก แต่กลับเจอวิกฤตโควิด-19 ทำให้ขาดรายได้ ต้องหยุดการผลิต กลายเป็นพนักงานตกงาน เงินลงทุนหมด ชีวิตเดินต่อไม่ได้ อีกทั้งยังป่วยเป็นโรค จนทำให้หมดหวังในชีวิต

จนสุดท้ายหันมองหาทางรอดจากสิ่งรอบตัว แล้วนำมาเพิ่มมูลค่า ทำในสิ่งที่รักและรักในสิ่งที่ทำ โดยเริ่มจากนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากโครงการมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ “ก๋วยจั๊บอุบล สูตรมาดามโซ่” อาหารพื้นถิ่นของจังหวัดอุบล ออกมาเป็นรสชาติต่างๆ มากมาย นอกจากนี้ยังทำการปรับโรงเรือนสู่มาตรฐาน อย. พร้อมพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ผลิต OEM เชื่อมต่อเครือข่ายสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่และกระจายรายได้ให้เติบโตไปพร้อมกันคำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต

จนประสบความสำเร็จเกิดเป็นผลิตภัณฑ์จากมาดามโซ่ และเครือข่าย เกือบ 20 รสชาติ สร้างรายได้ยอดขายหลักล้านได้ใน 6 เดือน

และคนสุดท้ายคุณอำพร วงค์ษา จ.ลำพูน ที่ต้องเผชิญปัญหาจากอาชีพเกษตรกรปลูกลำใย ที่ต้องเจอทั้งวิกฤตด้านราคา ปัญหาสามีและคุณแม่ที่ล้มป่วย ทำให้หมดหนทางที่จะสู้ต่อ จนเกิดความคิดท้อแท้ต่อชีวิต จนหลังได้มาร่วมโครงการเกิดพลังฮึดสู้อย่างสร้างครอบครัวที่มีความสุขอีกทั้ง โดยได้ใช้ทักษะงานฝีมือและความเชี่ยวชาญที่มี นำมาประกอบอาชีพ ผนวกกับความรู้ที่เรียนเพิ่มเติม อีกทั้งมองถึงความอยู่รอดที่ต้องขยายฐานการผลิตเป็นกลุ่ม และต่อยอดไลน์ผลิตภัณณ์

โดยคุณอำพร ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เป็น “งานหัตกรรมฝีมือดอกไม้ประดิษฐ์และงานผ้าปัก” จนขยายไปสู่ “ก๋วยเตี๋ยวน้ำลำไย” พร้อมเชื่อมต่อเครือข่าย ขยายฐานการผลิต จากชุมชนคนว่างงาน กลุ่มเปราะบาง และเยาวชนในพื้นที่ โดยจัดคลาสอบรมพัฒนาฝีมือ ใช้ทักษะการบริหารคนให้ถูกกับงาน อีกทั้งพัฒนาฝีมือตามความถนัดของแต่ละบุคคล

จนประสบความสำเร็จมีศูนย์เรียนรู้งานหัตถกรรมให้กับชุมชน ผู้ที่สนใจ ในการสร้างอาชีพ รายได้ มาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 14 ปี พร้อมขยายผลสร้างกลุ่มอาชีพและศูย์ผลิตภัณฑ์ 3 แห่ง กระจายใน 12 หมู่บ้าน ก่อให้เกิดการจ้างงานในชุมชน 1,200 คน สร้างรายได้ 3-4 ล้านบาท/ปี และยังคงขยายผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยนำผลผลิตภายในไร่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ก๋วยเตี๋ยวน้ำลำไย ภายใต้แบรนด์ ไร่วงษ์ษา

นอกจากการเสวนาเพื่อแรงบันดาลใจให้ชุมชนอื่น ๆ นำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตแล้ว ภายในงานยังมีชุมชนที่เข้าร่วมโครงการพลังชุมชนจาก 14 จังหวัด นำผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มมาจำหน่ายใน “ตลาดนัดพลังชุมชน คนบันดาลใจ” ณ เอสซีจี สำนักงานใหญ่ บางซื่ออีกด้วยคำพูดจาก ทดลองสล็อต pg

โดยผู้ที่สนใจอยากสนับสนุนสินค้าชุมชนที่มีคุณภาพดี สะอาด ปลอดภัย สามารถอุดหนุนผ่าน “ช้อปช่วยชุมชน” https://www.scg.com/sustainability/csr/ecatalog/

‘เอสซีจี’เดินหน้าลดเหลื่อมล้ำผ่านโครงการ ‘พลังชุมชน’ สร้างอาชีพ รายได้ให้ชุมชนยั่งยืน

admin