สวัสดีวันหยุด ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคมกับ สารพันเรื่องราวจาก “อ้วนซ่า แอบซิ่ง” เหมือนเช่นเคย และสำหรับสัปดาห์นี้ก็คงไม่มีข่าวใดฮือฮาวงการรถยนต์ไทยเกินข่าวของแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้า อันดับหนึ่งของโลก “เทสลา” ได้เข้าจดทะเบียนในไทยเรียบร้อยแล้วในชื่อของ “บริษัท เทสลา (ประเทศไทย) จำกัด” ไปได้อย่างแน่นอน
หลังจากที่ปล่อยให้เหล่าเกรย์มาร์เก็ต ทั้งหลายนำเอาเทสลา สารพัดรุ่นเข้ามาจำหน่ายในบ้านเรามาหลายปี ก็ถึงเวลาที่บริษัทจะขอเข้ามาเปิดตัวอย่างเป็นทางการเสียที โดยในครั้งนี้พวกเขามาในรูปแบบของการนำเข้ารถทั้งคันเข้ามาขาย ไม่ได้คิดจะตั้งโรงงานผลิตแต่อย่างใด โดยสังเกตได้จาก “ทุนจดทะเบียน” ที่มีเพียง 3 ล้านบาทเท่านั้น แต่ไม่ต้องกังวลไปเพราะเทสลา นั้นในปัจจุบันมีโรงงานอยู่ในประเทศจีน ดังนั้นการสั่งรถเทสลา รุ่นที่ผลิตจากโรงงานเทสลากิกะเซี่ยงไฮ้ (Tesla Giga Shanghai) ในจีนเข้ามาในไทยนั้นแสนสะดวกสบายกับภาษีนำเข้า 0% จากข้อตกลงเอฟทีเอ (FTA) จีน-อาเซียน ดังนั้นน่าจะเบาใจเรื่องราคาจะแพงโดดไปได้เลย แต่ที่ขายในบ้านเราตอนนี้แม้จะนำเข้ารุ่นพวงมาลัยขวาจากจีน แต่ทางจีนไม่ออกเอกสารให้ก็เลยโดนภาษีนำเข้าไปแบบเต็ม ๆ
โดยข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ของกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ที่ตั้งของ บริษัท เทสลา (ประเทศไทย) จำกัด นั้นจะตั้งอยู่ที่อาคาร์ เอ็มไทย ในโครงการออลซีซั่น ถนนวิทยุ โดยมีกรรมการรวม 3 คนคือ นายเดวิด จอน ไหน์สไตน์ (David Jon Feinstein) ซึ่งเป็นผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายบุกเบิกตลาดใหม่ และผู้บริหารระดับสูงของเทสลาในตลาดอินเดีย คนต่อมาคือนายยารอน ไคลน์ (Yaron Klein) ผู้เป็นซีเอฟโอ หรือผู้บริหารสินทรัพย์ และประธานบริหารฝ่ายการเงินของเทสลา เอนเนอร์จี โอเปอร์เรชั่น (Tesla Energy Operations) ซึ่งทำกิจการด้านโซลาร์เซลล์และพาวเวอร์วอลล์ (Powerwall) หรือแท่นจ่ายไฟ และอีกท่าน คือ นายไวภา ตเนชา (Vaibhav Taneja) ชาวอินเดีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารผ่านบัญชีของเทสลา อินเดีย เรียกได้ว่าไม่ได้มาเล่น ๆ
และในเอกสารที่ยื่นนั้น ยังระบุด้วยว่า นอกจากการนำเข้ารถเข้ามาแล้ว ยังจะมาพร้อมกับธุรกิจ ระบบเก็บพลังงาน และระบบผลิตพลังงาน นั่นก็คือ มีสิทธิที่จะมีการทำการตลาดแผงโซลาร์สำหรับบ้านเรือน และแท่นจ่ายไฟสำหรับรถยนต์ด้วยแน่นอน
แต่! อย่าเพิ่งลิงโลดกันไป เพราะการจดทะเบียนบริษัทนั้นก็ไม่ได้แปลว่าจะมีการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาปุบปับ เพราะดังตัวอย่างของเทสลา มอเตอร์ สิงคโปร์ นั้นพวกเขาได้จะทะเบียนในสิงค์โปร์ ตั้งแต่ปี 2010 แต่กว่าจะเริ่มขายรถยนต์กันจริง ๆ ก็ปาเข้าไปปี 2021 แต่สำหรับกรณีของประเทศไทย เชื่อว่าเราน่าจะเกิดได้เร็วกว่านั้นเพราะได้อานิสงส์จากเอฟทีเอ จีน-อาเซียน และโรงงานประกอบรถของเทสล่าในจีนที่แล้วเสร็จไปพักใหญ่แล้วนั่นเอง
ความแตกต่างของการที่ เทสล่า เข้ามาทำตลาดเองก็คือ เทสลา แตกต่างจากค่ายรถยนต์อื่นที่เปิดให้มีเอกชนมาร่วมเป็นดีลเลอร์ แต่เทสล่านั้นจะทำเองทั้งหมดมาแต่ไหนแต่ไร ตามนโยบายของนายอีลอน มัสก์ และที่น่าจะมาแน่นอนก็คือการลงทุนเรื่องของการกำเนิดสถานีชาร์จไฟของเทสลา ที่เรียกว่า “ซูเปอร์ชาร์จเจอร์” (Supercharger) และเรื่องของการอัพเกรดซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ของตัวรถให้มีความทันสมัยตลอดเวลา และจะมาพร้อมการรับประกันผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะแตกต่างกับสิ่งที่เราได้จาก เกรย์มาร์เก็ตในทุกวันนี้ ส่วนเรื่องราคานั้นอย่าพึ่งไปคาดหวังว่าจะถูกอะไรมากมาย เพราะเค้ารู้ว่าสมรรถนะรถเค้าดี เค้าก็ต้องตั้งราคาให้มีกำไรสูงสุดเอาไว้ก่อนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทั้งนี้ และทั้งนั้น ก็ใช่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับตลาดรถไฟฟ้าบ้านเราอย่างปุบปับดังที่หลายคนเชื่อ เพราะลำพังทุนจดทะเบียนแค่ 3 ล้านบาท ไม่น่าจะทำธุรกิจอะไรใหญ่โตได้ น่าจะเป็นการจดทะเบียนเอาไว้ก่อน ส่วนการทำธุรกิจอาจจะต้องอีกสักพัก อย่างเพิ่งกลั้นหายใจรอนะขอรับคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง!.