เมื่อวันที่ 9 มี.ค. ที่อาคารวิริยะถาวร นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล กรรมการบริหาร บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และรองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK เปิดเผยถึงการคัดเลือกเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ว่า ยืนยันว่า จากการพิจารณาเอกสารเงื่อนไขรายละเอียดการประมูล (TOR) ก่อนเข้าร่วมการประกวดราคา (ประมูล) เห็นแล้วว่ากติกาประมูลก็ปกติ ให้ก่อสร้างและเดินรถด้วย ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ โดย รฟม. ให้เอกชนเสนอขอมาว่าการก่อสร้างจะให้รัฐสนับสนุนท่าใด และการเดินรถจะแบ่งผลตอบแทนให้รัฐอย่างไร ซึ่งก็นำทั้งสองส่วนนี้มารวมกันจนได้ผลประโยชน์สุทธิ ใครเสนอผลประโยชน์สุทธิสูงกว่าก็เป็นผู้ชนะไป ไม่เห็นมีอะไรซับซ้อน

นายพงษ์สฤษดิ์ กล่าวต่อว่า ส่วนเงื่อนไขการประมูล อาทิ ต้องมีผลงานก่อสร้างสถานีทั้งใต้ดิน และลอยฟ้าหรือลอยฟ้าTORระบุชัดว่าไม่ใช่ต้องมีผลงานใต้ดินอย่างเดียว ขณะที่ผลงานต้องเป็นอุโมงค์ใต้ดิน ก็ไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินเท่านั้น เป็นอุโมงค์ระบายน้ำก็ได้ ขณะเดียวกันTORก็ไม่ได้ระบุด้วยว่า ต้องเป็นรายเดียวที่มีผลงานครบทุกด้าน ดังนั้นหากขาดผลงานด้านใดก็สามารถรวมกลุ่มกันมาได้ ซึ่งในส่วนของ ช.การช่างทำงานด้านเหล่านี้มากว่า40ปี จึงมาร่วมกับBEMรายเดียวได้ ยืนยันว่า โครงการนี้ไม่ได้กำหนดTORเพื่อBEMหรือ ช.การช่างเท่านั้น เป็นกติกาที่ปกติ และเปิดกว้าง ซึ่งเราก็เข้าแข่งขัน และทำตามกติกา ต้องขอความเป็นธรรม และขอกำลังใจให้เราด้วย

นายพงษ์สฤษดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับข้อเสนอที่BEMเสนอให้กับรัฐนั้น ประกอบด้วย ขอสนับสนุนค่าก่อสร้าง 91,500 ล้านบาท ส่วนการเดินรถBEMเสนอจ่ายเงินตอบแทนให้รัฐ 1 หมื่นล้านบาท เมื่อรวมทั้ง 2 ส่วน และคิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน (Net Present Value : NPV) แล้ว จะเป็นผลประโยชน์สุทธิที่ -7.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งทางคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้เจรจาต่อรองเพื่อลดราคาลงอีก แต่BEMยืนยันกลับว่าไม่สามารถลดได้จริง ๆ เพราะค่าก่อสร้าง วงเงิน 9 หมื่นกว่าล้านบาท รฟม. ศึกษาไว้ตั้งแต่ปี 61 แต่ปัจจุบันราคาเหล็ก น้ำมัน และแรงงานเพิ่มสูงขึ้นมาก จึงยืนยันราคาที่เสนอไป

นายพงษ์สฤษดิ์ กล่าวด้วยว่า เมื่อBEMไม่สามารถลดราคาลงได้อีก คณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงเจรจาขอให้เพิ่มข้อตกลง 2 ประเด็น ได้แก่ 1.ให้BEMตรึงราคาค่าโดยสารเท่ากับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ณ ปีที่เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 17-42 บาท เป็นเวลา 10 ปี คิดเป็นBEMต้องรับภาระให้รัฐอีก 1 หมื่นกว่าล้านบาท จากนั้นปีที่ 11 จึงจะคิดค่าโดยสารในอัตราที่กำหนดตามสัญญาสัมปทาน เริ่มต้นที่ 20-50 บาท และ 2.ให้BEMเข้ามารับภาระค่าดูแลรักษา (Care of Work)ส่วนตะวันออกที่กำลังจะก่อสร้างแล้วเสร็จ ภายหลังจากที่ รฟม. ตรวจรับมอบงานก่อสร้างส่วนตะวันออก และส่งมอบพื้นที่ให้กับBEMประมาณ 50 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งBEMยินดีรับทั้ง 2 ข้อตกลง ดังนั้นการที่บอกว่าขอเยอะไป ทำให้รัฐเสียหายเยอะ ต้องขอความเป็นธรรมกับเราด้วย คำพูดจาก เล่นเกมสล็อต

“BEMไม่ได้อยากออกมาโต้เถียงกับใคร และไม่ได้นำข้อมูลออกมาหักล้างใคร เราเคารพความเห็นที่แตกต่างกัน การออกมาครั้งนี้ต้องการยืนยันให้สังคมสบายใจ ซึ่งเราเชื่อมั่นในศักยภาพของเรา และเสนอสิ่งที่ดีที่สุดให้กับรัฐ ที่ผ่านมาทุกโครงการที่ ช.การช่างดำเนินการ ไม่เคยโดนปรับ ไม่เคยดีเลย์ สามารถเปิดให้บริการได้ตามแผนงานทุกโครงการ ไม่มีปรับแผนงานไปเรื่อยBEMและ ช.การช่าง มีสปิริตบอกว่าจะเปิดก็ต้องเปิดบริการให้ได้ เราเชื่อมั่นว่าเราทำถูกต้อง และTORก็เปิดกว้าง เป็นธรรม ซึ่งการที่มาบอกว่าTORเอื้อBEMกับ ช.การช่าง ไม่เป็นความจริง เป็นการแข่งขันตามกติกา ส่วนที่มีข้อมูลว่าเอกชนอีกรายเสนอขอสนับสนุน 9 พันล้านบาท ถ้าเข้าประมูลแข่งขัน แล้วทำได้จริง ผมก็ยอมรับ ซึ่งใครยังจะเชื่อว่า 9 พันล้านบาทสามารถดำเนินโครงการได้ ก็แล้วแต่ไม่เป็นไร” นายพงศ์สฤษดิ์ กล่าวคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

นายพงษ์สฤษดิ์ กล่าวต่อว่า ไม่ได้รู้สึกกังวลใดๆ เวลานี้ก็รอการอนุมัติให้ลงนามสัญญา ไม่ว่าจะรัฐบาลนี้หรือรัฐบาลไหนเราก็รอ หากเคาะอนุมัติ และลงนามสัญญาได้BEMและ ช.การช่าง พร้อมทำงานทันที เงินทุนมีครบหมดแล้ว และเชื่อมั่นว่าเราทำได้จริง สำเร็จจริง คุณภาพดีจริง ทำได้ตามที่พูด อย่างไรก็ตามตั้งเป้าหมายไว้ว่า หากได้ลงนามสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม จะสั่งซื้อรถไฟฟ้าทันที โดย รฟม. ตั้งโจทย์ไว้ว่าต้องสามารถให้บริการเดินรถได้ภายหลังลงนามสัญญาประมาณ 3 ปีครึ่ง ซึ่งเราคิดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ก่อนกำหนด จะใช้เวลาแค่ 3 ปี หรือประมาณปี 69 เปิดเดินรถส่วนตะวันออก หรืออาจจะเปิดให้บริการเร็วกว่านั้น แต่จะเป็นการทยอยเปิดให้บริการเป็นช่วง ๆ จากนั้นในปี 72 จะเปิดครบตลอดทั้งสาย ทั้งส่วนตะวันออก และส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ออกมาเปิดโปงข้อมูลการทุจริตโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม นายพงษ์สฤษดิ์ กล่าวว่า นายชูวิทย์ไม่ได้กล่าวหาบริษัท อาจจะมีพาดพิงมาบ้าง แต่ก็ไม่มีอะไร นายชูวิทย์ อาจจะเข้าใจแบบนั้น เราก็มีหน้าที่ต้องอธิบายว่าไม่ใช่มีรายเดียวที่เข้าประมูลได้ ถ้านายชูวิทย์ยังเข้าใจแบบเดิมก็ห้ามเขาไม่ได้ คงดูไปก่อน อย่างไรก็ตาม ช.การช่าง เข้าร่วมประมูลงานมากว่า 40 ปีแล้ว เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นเยอะ ก็ว่ากันไป ขอให้เคารพกันดีกว่า ส่วนเรื่องคดีรถไฟฟ้าสายสีส้มที่ยังรอคำพิพากษาของศาลฯ โดยเฉพาะคดีการยกเลิกประมูลนั้น รู้สึกเฉย ๆ ที่ผ่านมามีเป็นหมื่นโครงการที่ล้มประมูล แล้วเปิดประมูลใหม่ ถ้ามองด้วยใจเป็นธรรม เมื่อล้มประมูล และคืนซองข้อเสนอกลับมาแล้ว ทุกอย่างก็จบ เมื่อเปิดประมูลใหม่ก็ลงแข่งขันกันใหม่ จะมีใครฟ้องก็ว่ากันไป.

“BEM-ช.การช่าง” ขอความเป็นธรรม! ยันชนะประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม ถูกต้อง ทำตามกติกา

admin